Call Center 1183
รู้จักภาวะลองโควิด (Long COVID)

รู้จักภาวะลองโควิด (Long COVID)

หากใครหลายคนกำลังรู้สึกโล่งใจที่โรคระบาด COVID-19 สายพันธุ์ปัจจุบัน สามารถติดได้ง่าย แต่ก็หายได้เร็ว คงจะต้องคิดใหม่ เพราะมีการยืนยันทางการแพทย์แล้วว่าโรค COVID-19 สามารถทิ้งความเสียหายหลังติดโรค หรือที่เรียกว่า Long COVID ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิต หรือ ความแข็งแรงของอวัยวะในร่างกาย อย่าง เช่น ปอด หรือหัวใจ

Tune Protect Thailand จึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ ภาวะ Long COVID ให้ทุกๆ คนได้ทำความเข้าใจ รวมถึงป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที


Long COVID คืออะไร?

Long COVID คือ อาการที่หลงเหลือหลังจากติดเชื้อ COVID-19 ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีภาวะความเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หรือ ผู้ที่ในขณะที่ติดเชื้อ COVID-19 แล้วมีอาการรุนแรง โดยอาจกินระยะเวลายาวนานตั้งแต่ 4 - 6 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอาการ Long COVID จะส่งผลให้ร่างกายฟื้นฟูความแข็งแรงกลับมาได้ไม่เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์


ประกัน covid19, อาการ long covid


Long COVID มีอาการอย่างไร?

อาการของ Long COVID เป็นได้หลากหลาย แต่ส่วนมากที่มักจะพบ คือ

  • เหนื่อยล้าง่าย มึนงง เวียนศีรษะ รู้สึกไม่สดชื่น
  • มีอาการไอ หายใจไม่อิ่ม หายใจหอบ
  • ใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน
  • ความจำสั้น สมาธิสั้น มีภาวะสมองล้า
  • รับรู้รสชาติอาหารเปลี่ยนไป มีอาการลิ้นชา
  • ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อต่างๆ ของร่างกาย
  • มีผื่นขึ้นตามร่างกาย
  • ท้องเสีย ปวดท้อง รับประทานอาหารได้น้อยลง
  • วิตกกังวล นอนไม่หลับ ซึมเศร้า

หลังหายจากโควิด ต้องดูแลตนเองอย่างไร?

ถึงแม้จะเป็นโรคที่ติดง่ายหายเร็ว แต่การไม่ติดโรคก็เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด การดูแลตัวเองหลังจากหายโควิดอย่างถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยป้องกันการส่งต่อความเสี่ยงไปสู่คนรอบตัวอีกด้วย โดยสามารถทำตามคำแนะนำดังต่อไป

  • กักตัวเพื่อสังเกตอาการอย่างน้อย 10 - 14 วัน โดยระหว่างนั้นต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือเป็นประจำ และ แยกข้าวของเครื่องใช้กับผู้อื่นในบ้าน
  • พยายามพักผ่อนให้เพียงพออยู่เสมอ เข้านอนแต่หัวค่ำ
  • ดื่มน้ำให้มากๆ และ รับประทานอาหารปรุงสุก ที่มีโภชนาการครบถ้วน
  • ออกกำลังกายแบบไม่หักโหม เน้นการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และ ให้ร่างกายได้ยืดเส้นยืดสาย
  • อย่าเพิ่งใช้สายตามาก พักการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือ สมาร์ทโฟน
  • กลับมาทำงานอดิเรกที่ชอบ เช่น ฟังเพลง วาดรูป ทำอาหาร เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจควบคู่กับไปสุขภาพร่างกาย

ป้องกัน Long COVID ได้อย่างไร?

อาการ Long COVID สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน และ การดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยง เช่น ในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือ มีภูมิคุ้มกันต่ำ ก็ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก และ ผลไม้ ที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน รวมถึงการออกกำลังกาย นอกจากนั้นการรับคำปรึกษาจากแพทย์ และ การเฝ้าระวังอาการด้วยตนเองอย่างใกล้ชิด ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยป้องกันอาการ Long COVID ได้


วิธีฟื้นฟูภาวะ Long COVID

ภาวะ Long COVID นั้น ไม่ได้ส่งผลเสียแค่ต่อร่างกาย และ ยังอาจส่งผลกระทบทางด้านจิตใจอีกด้วย เพราะจะทำให้คุณรู้สึกเครียดง่าย และเกิดความวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลาว่าจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติได้เมื่อไหร่

ดังนั้นวิธีการฟื้นฟูจากการเป็นภาวะ Long COVID ต้องทำควบคู่กันทั้งร่างกายและจิตใจ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณประโยชน์ที่เน้นการซ่อมแซมร่างกายเป็นหลัก หากิจกรรมที่ชื่นชอบทำ และ มองหาตัวช่วยที่จะเพิ่มความอุ่นใจให้กับคุณในช่วงภาวะโรคระบาดเช่นนี้


ใครๆ ก็ไม่อยากเสี่ยง

ถึงแม้ว่า Long COVID เป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือ ผู้ป่วย COVID ระดับสีแดง แต่บางรายก็ยังพบได้ในผู้ป่วยสีเขียว และ สีเหลือง เช่นกัน สรุปง่ายๆ ว่า Long COVID สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ภายหลังจากการติดโรค COVID-19

ดังนั้นเพื่อเป็นหลักประกันทางสุขภาพ และ ช่วยให้คุณคลายกังวลกับทั้งภาระค่าใช้จ่ายที่ตามมา รวมทั้งความเสี่ยงต่างๆ ทั้งจากการติด COVID-19 ภาวะ Long COVID หรือ การฉีดวัคซีนป้องกัน


แล้วอย่าลืมมองหาประกันภัยที่ครอบคลุมอย่างประกันภัยจาก Tune Protect ที่มีมีผลิตภัณฑ์ประกันที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ประกันอุบัติเหตุ ประกันโรคร้ายแรง ประกันการเดินทาง หรือ ประกันที่อยู่อาศัย ที่สามารถตอบโจทย์ได้ทุกความต้องการ


Tune Protect Thailand ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง และ ผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน



บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีคิด (Mindset) ในยุคมิลเลนเนียลและเรื่องของสุขภาพจิต

วิธีคิด (Mindset) ในยุคมิลเลนเนียลและเรื่องของสุขภาพจิต

ทางเลือกพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของคนเรา ในช่วงเวลาที่เราวิ่งตามหาสิ่งสำคัญในชีวิต เช่น การมีลูก เรื่องงาน การศึกษา และความสัมพันธ์ คำถามที่สำคัญคือ และตัวเราเป็นคนแบบไหนระหว่างเป็นคนที่มีทัศนคติแบบดังเดิม ยึดติด (Fixed Mindset) หรือ เป็นคนที่มีความคิดแบบเติบโต พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ (Growth Mindset)

ประกันสุขภาพดิจิทัลคืออะไรกันแน่? บทเรียนที่ได้รับในยุคโควิด-19

ประกันสุขภาพดิจิทัลคืออะไรกันแน่? บทเรียนที่ได้รับในยุคโควิด-19

มันไม่น่าแปลกใจที่คนส่วนมากไม่มีข้อมูลด้านเส้นทางสุขภาพส่วนบุคคล แต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ กำลังจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างไป

มารู้จักประกัน COVID-19 ประกันยุคใหม่ที่ทุกคนควรมี

มารู้จักประกัน COVID-19 ประกันยุคใหม่ที่ทุกคนควรมี

มารู้จักประกัน COVID-19 ประกันยุคใหม่ที่ทุกคนควรมี