Call Center 1183
ซื้อบ้านต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ซื้อบ้านต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

หลายคนเริ่มมีการวางแผนชีวิตกันแล้ว ซึ่งการมีบ้านเป็นของตนเองนั้น เป็นอีกหนึ่งแผนในชีวิตที่แสดงถึงหลักประกันความมั่นคงในชีวิต แต่การที่จะซื้อบ้านหนึ่งหลังนั้นไม่ได้มีแค่ "ราคาบ้าน" เท่านั้น ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมายที่จะตามมา เราจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะตัดสินใจซื้อบ้าน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเงินไม่พอจนบ้านที่ตั้งใจจะซื้อต้องหลุดไปเป็นของคนอื่น รวมถึงเป็นภาระเพราะผ่อนไม่ไหวทีหลัง ดังนั้นเรามาดูกันว่าการซื้อบ้านมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างและควรเตรียมเงินไว้เท่าไร เมื่อเราตัดสินใจที่จะซื้อบ้าน


ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้าน

1. ค่าจองและทำสัญญา (ค่ามัดจำ)

เงินในส่วนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายแรกที่เราต้องเตรียมหากเจอบ้านหลังที่ถูกใจ โดยผู้ที่ขายจะให้เราจ่ายเงินเพื่อจองเอาไว้ก่อน เพื่อเป็นการรับประกันว่าเราต้องการซื้อบ้านหลังนี้จริงๆ โดย "เงินจอง" นั้นจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ผู้ขายหรือโครงการ มีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นขึ้นไป ทั้งนี้เงินจองอาจจะขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของทางผู้ขายหรือโครงการในช่วงเวลานั้นๆ

หลังจากวางเงินจองจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขาย โดยในสัญญาจะระบุรายละเอียดและค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ตำแหน่งห้อง แปลนบ้าน เงื่อนไขข้อตกลงต่างๆ รวมถึงระบุว่าใครคือผู้รับผิดชอบ จำนวนเงินเท่าไหร่ เป็นต้น โดยสัญญาจะซื้อจะขายต้องมีคู่ฉบับให้ผู้ซื้อและผู้ขายลงนาม และถือไว้เป็นหลักฐานคนละฉบับ


2. ค่าเงินผ่อนดาวน์

ในการวางเงินดาวน์นั้น ทุกคนที่ตั้งใจจะซื้อบ้านคงน่าจะรู้ถึงเงินจำนวนนี้เป็นอย่างดีและจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมของเงินในส่วนนี้ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นก้อนใหญ่พอสมควร โดยทั่วไปแล้วค่าผ่อนดาวน์จะอยู่ที่ประมาณ 5 - 15% ของราคาบ้าน เมื่อจ่ายเงินในส่วนนี้เรียบร้อยแล้ว ก็จะถูกนำไปหักออกจากราคาบ้าน ส่วนที่เหลือก็จะเป็นค่าโอนกรรมสิทธิ์เอาไว้สำหรับยื่นกู้กับธนาคารในขั้นตอนต่อไป


3. ค่าประเมินราคาเมื่อขอสินเชื่อ

ค่าประเมินราคาหลักประกันในส่วนนี้ จะเป็นเงินที่ธนาคารเรียกเก็บ ซึ่งเป็นค่าดำเนินการในการสำรวจและประเมินราคาบ้านหรือที่ดินเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาขอสินเชื่อ โดยค่าประเมินจะอยู่ที่ 1,000 - 3,000 บาทแล้วแต่ธนาคาร และแน่นอนว่าถ้ายื่นขอสินเชื่อจากธนาคารหลายแห่ง ก็จะต้องจ่ายค่าประเมินราคาให้กับทุกธนาคารที่ได้ทำการขอสินเชื่อ


4. ค่าจดจำนอง

เงินในส่วนนี้คือค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนกับกรมที่ดิน ซึ่งเราต้องจ่ายให้กรมที่ดิน คิดเป็น 1% ของยอดเงินกู้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท จะเรียกเก็บเฉพาะผู้ที่ใช้เงินกู้จากธนาคารต่างๆ ที่ได้ทำการกู้ไป


ประกันภัยบ้าน, ประกันบ้าน


5. ค่าโอนกรรมสิทธิ์

เงินจำนวนนี้เป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้กับกรมที่ดิน โดยจะคิดเป็น 2% จากราคาประเมิน และสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องตกลงว่าใครจะรับผิดชอบ ซึ่งปกติผู้ซื้อและผู้ขายจะรับผิดชอบจ่ายกันคนละครึ่ง


6. ค่ามิเตอร์น้ำ-ไฟฟ้า

สำหรับค่าใช้จ่ายก้อนนี้จะใช้เป็นค่าติดตั้ง ค่าประกันมิเตอร์และค่าประกันการใช้น้ำ-ไฟฟ้า ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของบ้าน ขึ้นอยู่กับมาตรวัด ขนาดมิเตอร์ และจำนวนในการปล่อยกระแสน้ำ-ไฟ โดยค่าใช้จ่ายรวมจะอยู่ที่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น


7. ค่าส่วนกลาง (ถ้ามี)

เงินในส่วนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทางโครงการเรียกเก็บ เพื่อนำไปใช้บำรุงรักษาหรือปรับปรุงพัฒนาโครงการ ให้กับสิ่งที่อำนวยความสะดวกในที่พักอาศัย เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย พื้นที่ส่วนกลางที่ลูกบ้านใช้ร่วมกัน การทำความสะอาดภายในโครงการ ซ่อมแซมสินทรัพย์ภายในโครงการ ฯลฯ ซึ่งทางโครงการจะพิจารณาเรียกเก็บจากขนาดพื้นที่พักอาศัย โดยให้เจ้าของบ้านจ่ายล่วงหน้าประมาณ 1-2 ปี และหลังจากนั้นก็จะเรียกเก็บเป็นรายปี


8. งบตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

งบประมาณในส่วนนี้เป็นส่วนที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงต้องมีการคำนวณ ประเมิน วางแผนและตั้งงบประมาณ เพื่อให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัย ซึ่งจำเป็นต้องมีการคำนวณรวมเข้ากับราคาบ้านที่ต้องการจะซื้อเข้าไปด้วย เพื่อไม่ทำให้งบในส่วนนี้บานปลาย


9. ค่าเบี้ยประกันภัยบ้าน

ในส่วนนี้สำคัญมาก จำเป็นที่จะต้องใส่เข้าไปเป็นอีกหนึ่งรายการค่าใช้จ่ายหากต้องทำการซื้อบ้าน การซื้อ ประกันภัยบ้าน จะช่วยคุ้มครองให้เจ้าของบ้านได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งประกันบ้านจะมีการคุ้มครองหลักๆ 3 ส่วน ได้แก่ ความคุ้มครองเรื่องการเกิดอัคคีภัย ถัดมาจะเป็นความคุ้มครองเรื่องภัยพิบัติ และความคุ้มครองการโจรกรรมทรัพย์สิน ซึ่งประกันภัยบ้านที่แนะนำ คือ แผนประกันภัยบ้าน myHomePlus จาก Tune Protect ประกันภัยบ้านที่ช่วยคุ้มครองบ้านอย่างเต็มที่


ประกันภัยบ้าน, ประกันอัคคีภัย


ประกันภัยบ้าน myHomePlus

อุ่นใจได้ทุกภัยบ้านด้วย ประกันภัยบ้าน ประกันอัคคีภัย myHomePlus ที่ให้ความคุ้มครองบ้านอย่างเต็มที่ ทั้ง ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยจากลมพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว พร้อมค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราว


จุดเด่นของประกันภัยบ้าน ประกันอัคคีภัย myHomePlus

  1. สบายใจกับความคุ้มครองบ้านจากภัยธรรมชาติ สูงสุด 300,000 บาท*
  2. คุ้มครอง ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยจากลมพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้น้ำ สึนามิ ภัยจากลูกเห็บ
  3. หมดกังวล เรื่องที่พักอาศัย พร้อมดูแลค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราวสูงสุด 30 วัน
  4. เบี้ยสบายแค่ 400 บาท/ปี หรือ เพียง 1 บาทต่อวัน

*เงื่อนไขเป็นไปตามกรมธรรม์ ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง


โดยปกติแล้วการตัดสินใจซื้อบ้านเราจำเป็นต้องมีเงินสำรองในการใช้จ่ายนอกเหนือจากสินเชื่อ โดยทั่วไปแล้วธนาคารจะปล่อยสินเชื่อให้ราว 85% นั่นหมายความว่าเราจำเป็นต้องมีการเตรียมเงินส่วนต่างเพื่อใช้จ่ายประมาณ 15 - 20% ทั้งนี้การวางแผนและการหาข้อมูลให้ถี่ถ้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้ช่วยคุมงบประมาณและไม่ให้เป็นภาระทางการเงินในอนาคตอีกด้วย



บทความที่เกี่ยวข้อง

ประกันภัยทรัพย์สินภายในบ้านคุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันภัยทรัพย์สินภายในบ้านคุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันภัยทรัพย์สินภายในบ้านถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เหตุไม่คาดฝันที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับบ้านหรือทรัพย์สินอาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ มีประกันบ้านไว้อุ่นใจกว่า

เรื่องที่คุณอาจไม่รู้ว่าประกันภัยบ้านก็คุ้มครองคุณ

เรื่องที่คุณอาจไม่รู้ว่าประกันภัยบ้านก็คุ้มครองคุณ

หลายคนอาจคิดว่าประกันภัยบ้านนั้นคุ้มครองแค่เรื่องไฟไหม้ แต่ประกันภัยบ้านมีความคุ้มครองอีกมากที่หลายคนอาจไม่รู้ Tune Protect ขอพาไปดูว่าประกันภัยบ้าน คุ้มครองอะไรบ้าง

เหตุผลที่ต้องมีประกันทรัพย์สินภายในบ้าน myHomeSmart

เหตุผลที่ต้องมีประกันทรัพย์สินภายในบ้าน myHomeSmart

ประกันภัยบ้าน ประกันทรัพย์สิน เปรียบเสมือนตัวช่วยที่คอยรองรับในยามที่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายกับบ้าน ให้คุณไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่ตามมาจากความเสียหายที่ไม่คาดคิด