Call Center 1183
5ป. ปราบยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก

5ป. ปราบยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก

ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ ก่อให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ซึ่งกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ชั้นดีของยุงลาย พาหะของโรคไข้เลือดออก หรือโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี่ ที่มีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสถานการณ์ปัจจุบันของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2565 (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 20 เมษายน 2565) พบผู้ป่วย จำนวนมากถึง 1,098 ราย และเสียชีวิตด้วยกัน 2 ราย แม้จะเป็นโรคที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่โรคไข้เลือดออกก็สามารถป้องกันได้หากรู้วิธีการจัดการและดูแลตนเองที่ถูกต้อง


ประกันไข้เลือดออก, สถิติโรคไข้เลือดออก


โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) คืออะไร

โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักจะพบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี  ซึ่งยุงลายมี 2 ชนิด ได้แก่ ยุงลายสวนและยุงลายบ้าน ที่พบกันบ่อยที่สุดคือยุงลายบ้าน พบทั้งในบ้านและบริเวณรอบบ้าน มีด้วยกันหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ Aedes Aegypti ซึ่งเป็นยุงลายเพศเมีย หากินในเวลากลางวัน


ประกันไข้เลือดออก, สาเหตุโรคไข้เลือดออก


สาเหตุของโรคไข้เลือดออก

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าโรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรคโดยเฉพาะยุงลายตัวเมียที่กัดและดูดเลือดในเวลากลางวัน ยุงลายชนิดนี้เมื่อกัดคนที่เป็นโรคไข้เลือดออกแล้วเชื้อโรคจะเข้าไปฟักตัวอยู่ในยุงได้ตลอดชั่วชีวิตของยุงตัวนั้น หรือประมาณ 1-2 เดือน และสามารถถ่ายทอดไปสู่คนอื่นๆ ที่ถูกกัดได้ทุกครั้งเลยทีเดียว


อาการของโรคไข้เลือดออก

ผู้ป่วยไข้เลือดออก แรกเริ่มจะมีอาการไข้สูงขึ้น บางคนมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเบ้าตา ปวดศีรษะ หลังจากมีอาการไข้ 2-3 วัน จะเริ่มมีเลือดออกตามที่ต่างๆ เช่น เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามจุดเล็กๆ ตามตัว


สังเกตอาการโดยรวมของโรคไข้เลือกออกได้ ดังนี้

  • มีไข้สูง 39 – 40 องศา เกิน 2 วัน
  • ปวดศีรษะ 
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • อ่อนเพลีย
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • เบื่ออาหาร อาเจียน
  • พบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดตามผิวหนัง
  • อุจจาระมีสีดำ

5ป. ปราบยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก

วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกนั้นนอกจากการป้องกันโดยระวังอย่าให้ยุงกัดแล้ว สามารถป้องกันได้โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

  • ป1 - ปิด ภาชนะเก็บกักน้ำให้มิดชิด ป้องกันการเข้าไปวางไข่ของยุงลาย
  • ป2 - เปลี่ยน น้ำในภาชนะต่างๆ อยู่เสมอๆ เพื่อไม่ให้มีแหล่งน้ำที่ยุงสามารถไปเพาะพันธุ์ได้
  • ป3 - ปล่อย ปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว
  • ป4 - ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมรอบข้างให้ปลอดโปร่ง ลมพัดผ่านได้ 
  • ป5 - ปฏิบัติ ตามทั้ง 4ป ข้างตนอย่างเป็นประจำ เพื่อป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

สุดท้ายคือ ข - ขัด ขัดล้างไข่ยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขังให้หมด เพื่อกำจัดการเพาะพันธุ์และการวางไข่ของยุงลาย


นอกจากวิธีป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกด้วย 5ป และ 1ข ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว การเตรียมรับมือเมื่อเกิดโรคนี้ก็สำคัญ ทั้งการสำรวจตัวเองและรีบไปพบแพทย์ รวมถึงการรับมือด้วยการทำประกันเพื่อคุ้มครองเฉพาะโรค โดยเฉพาะประกันโรคไข้เลือดออกจาก TUNE PROTECT


ประกันไข้เลือดออก, ประกันโรคไข้เลือดออก


ประกันภัยไข้เลือดออก Dengue One Care

ใครจะคิดว่ายุงลายตัวเล็กๆ ที่เราพบเจออยู่ทุกวันจะสามารถสร้างปัญหาได้มากขนาดนี้ เพราะฉะนั้นการป้องกันโรคไข้เลือดออก เช่น ทำลายแหล่งน้ำขังที่เป็นที่เพาะพันธุ์ของยุง และเตรียมผู้ช่วยที่จะดูแลคุณและลูกน้อยให้ดี จึงจะเป็นเกราะป้องกันสุขภาพที่ดีที่สุดให้กับคุณและคนที่คุณรัก ด้วยแผนประกันที่ครอบคลุมโรคร้ายจากยุงลายโดยเฉพาะ อย่าง ประกันไข้เลือดออก Dengue One Care จาก Tune Protect ที่มีไว้ก็ช่วยให้อุ่นใจได้มากขึ้น


จุดเด่นความคุ้มครองแผนประกันภัยไข้เลือดออก Dengue One Care

ด้วยแผนประกันไข้เลือดออก Dengue One Care ที่มีความคุ้มครองสูงสุดถึง 50,000 บาท* และยังจ่ายเบี้ยประกันน้อยแค่ไม่ถึง 1 บาท/วัน แต่ได้เงินชดเชยรายวันสูงสุดถึง 2,000 บาท/วัน*  สำหรับกรณีที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเวชกรรม สูงสุดถึง 30 วัน พร้อมคุ้มครองทั้งกรณีเป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก และสำหรับแผน 3 ยังมีบริการปรึกษาแพทย์แบบออนไลน์ Health2GO* ได้ฟรี 1 ครั้งอีกด้วย

ปัจจุบันการรักษาโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยยังคงเป็นเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น ซึ่งจะต้องใช้วิธีและระยะเวลารักษาขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องการดูแลตัวเองและดูแลสิ่งแวดล้อมรอบกายอยู่เสมอ เพื่อให้ป้องกันตัวเองจากยุงร้ายและโรคไข้เลือดออกนั่นเอง


คำเตือน :

*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขของเอกสารเสนอขายก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

*รายละเอียดแตกต่างกันตามแต่ละแผนประกัน



บทความที่เกี่ยวข้อง