เมื่อคุณเริ่มรู้สึกว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ: เป็นเพราะความรัก? หรือคุณควรไปหาหมอ?
มาดูวิธีการเช็กจังหวะการเต้นของหัวใจของคุณกันดีกว่า
โดย: PGH, Preferred Global Health
วันวาเลนไทน์เป็นวันเฉลิมฉลองสำหรับคนพิเศษในชีวิตของเรา ความรู้สึกของความรักที่มาพร้อมกับอารมณ์และ Adrenaline หลั่งออกมาทั้งต่ำและสูง กิจวัตรประจำวันของชีวิตมีความหมายพิเศษเหมือนความรู้สึก "การเต้นผิดจังหวะ" ของหัวใจเมื่อคิดถึงคนพิเศษ
เราเชื่อมโยงเรื่องของหัวใจกับความรักและความรู้สึก แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคิดถึงสุขภาพร่างกายและความเป็นอยู่ที่ดีของหัวใจของเราด้วย เราสามารถฝึกการดูแลตนเองได้ โดยการตรวจสอบความผิดปกติของจังหวะการเต้นของอวัยวะสำคัญนี้ ซึ่งไม่ได้หมายรวมถึงการเต้นผิดจังหวะเพราะเกิดความรักเท่านั้น
การเต้นของหัวใจที่รวดเร็วผิดปกติ หรือไม่ตรงจังหวะเป็นสิ่งที่น่ากังวลไหม?
เป็นเรื่องปกติที่หัวใจของคุณจะเต้นเร็วขึ้นเมื่อคุณรู้สึกตื่นเต้น ประหม่า หรือกำลังออกกกำลังกาย อาจจะเกิดอาการกระโดดข้ามหรือเพื่มขึ้นของจังหวะเต้นของหัวใจ ที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ เช่น มีคาเฟอีนในร่างกายมากเกินไปหรือนอนหลับไม่เพียงพอ โชคดีที่สิ่งเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในระยะสั้นๆและแก้ไขได้อย่างง่ายดาย
ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงของจังหวะหรือที่เรียกว่าอัตราการเต้นของหัวใจอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีปัญหาในการทำงานของหัวใจและต้องการดูแลจากทางการแพทย์
ฟังเสียงหัวใจของคุณในวันวาเลนไทน์นี้ ถ้าหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง ให้รีบไปปรึกษาแพทย์
ทำความรู้จักจังหวะการเต้นของหัวใจของคุณ โดยดูจากอัตราชีพจรของคุณ(จำนวนครั้งที่หัวใจเต้นต่อนาที) มาเริ่มเช็กตัวเองกันง่ายๆ ตามขั้นตอนดังนี้:
1. ถอดนาฬิกาและเครื่องประดับออกจากข้อมือของคุณ
2. วางสามนิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง) บนชีพจรของคุณบริเวณข้อมือ และนำนิ้วโป้งวางรับไว้ด้านล่าง
คุณยังสามารถวางนิ้วสองนิ้ว (ปลายนิ้วของนิ้วชี้และนิ้วกลาง) บนคอส่วนล่างที่ข้างใดข้างหนึ่งของหลอดลม
3. กดลงเบาๆ จนคุณรู้สึกถึงการไหลเวียนของเลือดใต้นิ้วของคุณ คุณอาจจะขยับนิ้วของคุณ ขึ้นหรือลงเล็กน้อย
4. นับชีพจรของคุณเป็นเวลา 30 วินาที
5. คูณชีพจรของคุณด้วยสอง (x 2) เพื่อค้นหาการเต้นของหัวใจต่อนาที
อัตราการเต้นของชีพจรของคุณจะลดลงเมื่อพักผ่อนและเพื่มขึ้นเมื่อคุณออกกำลังกาย
อัตราการเต้นปกติของหัวใจขณะพักควรอยู่ระหว่าง 70-100 ครั้งต่อนาที สำหรับเด็ก (อายุ 6-15 ปี) และสำหรับผู้ใหญ่ (อายุ 18 ปีขึ้นไป) 60-100 ครั้งต่อนาที
อัตราการเต้นผิดจังหวะทั้งสูงและต่ำในช่วงเวลาปกติ นั่นหมายถึงปัญหาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การรีบไปปรึกษาแพทย์นั้นก็ถือเป็นความคิดที่ดีนะ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งแท้จริงแล้ว “คือการเต้นแบบไม่มีจังหวะ”
การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติหมายถึงการสูบฉีดเลือดไม่ปกติ ทั้งนี้อาจจะทำให้เกิดเป็นลิ่มเลือด ลิ่มเลือดสามารถเคลื่อนไปที่หัวใจและสมองได้ ทำให้เกิดโรคอาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง
คุณควรระวังอะไรบ้าง?
อาการไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป แต่หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอก เหงื่อออก หายใจลำบาก เป็นลม หัวใจเต้นช้า เวียนศีรษะ หน้ามืดหรือแน่นหน้าอก คุณควรไปพบแพทย์ในทันทีเพื่อตรวจหาภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงของหัวใจ
แพทย์อาจตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ของคุณ ตรวจร่างกาย และทำการทดสอบความเครียด (บางครั้งเรียกว่าการทดสอบการออกกำลังกาย) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (การทดสอบการเต้นของหัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้า) หรือการทดสอบด้วยภาพเพื่อการวินิจฉัย
ภาวะการเต้นผิดจังหวะอาจะเกิดจากภาวะสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ หัวใจพิการแต่กำเนิด ความเจ็บปวดจากการไหลเวียนของเลือดลดลง ความผิดปกติของการนำไฟฟ้า ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ความผิดปกติของปอด เป็นต้น
วิถีชีวิตที่ดี สามารถช่วยรักษาจังหวะการเต้นของหัวใจได้
ข่าวดีคือ ปัจจัยอันตรายที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจัวหวะ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อาหารที่มีไขมันสูง โรคอ้วน คอเลสเตอรอลสูง การสูบบุหรี่ ความเครียด การใช้ยาและแอลกอฮอล์ สามารถปรับปรุงได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต กาแฟและเครื่องดื่มชูกำลังสามารถเพื่มความดันโลหิตหรือทำให้อาการแย่ลงสำหรับบางคน
การออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และการรับประทานอาหารที่ดีจะช่วยป้องกันและควบคุมภาวะหัวใจล้มเหลวได้ มีหลายคนพบว่าการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ การยึดกล้ามเนื้อ และโยคะนั้นมีประโยชน์ หากคุณมีโรคประจำตัว ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจรูปแบบการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
PGH, หรือ Preferred Global Health, เป็นองค์กรผู้ป่วยระดับโลกที่เป็นอิสระ รวมถึงเป็นพาร์ทเนอร์และผู้ให้บริการที่มีคุณค่าของ Tune Protect สำหรับบริการ myEliteDoctor บริการความเห็นที่ 2 ทางการแพทย์ระดับโลก
myEliteDoctor รวมอยู่ในแผนประกันโรคร้ายแรง myFlexi CI ที่มีสิทธิ์ใช้บริการฟรี* ซึ่งให้ความคุ้มครองสูงสุด 3,000,000 บาท* สำหรับ 5 กลุ่มโรคร้ายแรงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
เพราะทุกคนมีสิทธิ์ในการเลือกทางเลือกที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด
หมายเหตุ
*เงื่อนไขเป็นไปตามกรมธรรม์ ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง