Call Center 1183
ควรบอกลูกๆ อย่างไร เมื่อตรวจพบมะเร็งเต้านม

ควรบอกลูกๆ อย่างไร เมื่อตรวจพบมะเร็งเต้านม

การตรวจพบมะเร็งเต้านมนั้น แน่นอนว่าเป็นข่าวร้ายที่เปลี่ยนโลกอันสดในของคุณและลูกๆที่รักของคุณเปลี่ยนไปทั้งใบ แต่มาดูกันว่าเราจะรับมือกับการบอกลูกของคุณอย่างไร มีข้อควร (DO!) และไม่ควรทำ (DON’T!) อะไรบ้าง มาดูกัน

โดย: PGH, Preferred Global Health

 

แม้ว่ามะเร็งเต้านมนั้นจะเป็นมะเร็งชนิดที่ตรวจพบเจอได้บ่อยที่สุดในโลก และยังถือว่าเป็นมะเร็งที่พบได้ทั่วไปในหญิงไทย แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดยอดฮิตมากแค่ไหน การที่จะแจ้งลูกของคุณถึงข่าวร้ายนี้มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะรับมือ

แน่นอนว่าเราจะต้องเจออารมณ์ที่หลากหลายหลังจากแจ้งให้คนที่คุณรักทราบถึงการที่คุณตรวจพบมะเร็งเต้านม ลูกน้อยอาจจะเกิดอาการเสียใจ เครียด วิตกกังวล รับได้ หรืออาจจะไม่เชื่อเลยก็ตาม อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ และความรู้สึกที่เกิดขึ้นไม่มีคำว่าผิดหรือถูกทั้งนั้น เมื่อเราต้องแจ้งข่าวร้ายนี้ให้กับลูกหลานตัวน้อยของเรา มาดูกันว่าเราต้องคำนึงถึงอะไรบ้างก่อนที่จะไปพูดกับพวกเขา

 

DO!: สูดหายใจเข้าลึกๆ

ก่อนที่เราจะไปแจ้งลูกน้อยของเรานั้น การเตรียมใจและอารมณ์ของเราก่อนไปแจ้งให้ทุกคนได้รู้เมื่อเราพร้อมแล้วนั้นจะเป็นเวลาที่ดีที่สุด คุณอาจจะคิดว่าต้องให้คนในครอบครัวมาช่วยกันคิดและหาวิธีบอก แต่นี่คือโรคที่คุณเป็นคนเผชิญและการตัดสินใจทั้งหมดขอให้แน่ใจว่าขึ้นอยู่กับความพร้อมและการตัดสินใจของคุณ

เมื่อพร้อมแล้ว ไม่มีความจำเป้นที่จะต้องปกปิดใดๆที่จะบอกความจริง และแสดงว่าคุณโอเคที่จะต่อสู้กับโรคนี้ แม้ว่ามันอาจจะยากที่ลูกของคุณจะยอมรับได้ คุณอาจจะต้องการสามี พ่อแม่ หรือญาติที่ไว้ใจได้ของคุณที่จะอยู่เคียงข้างในวันที่คุณจะต้องแจ้งข่าวร้ายนี้ เพื่อช่วยกันผ่านความรู้สึกที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกัน

ถ้าเกิดว่าคุณมีลูกมากกว่า 1 คน ทุกคนต้องได้รับรู้เรื่องราวพร้อมกัน ไม่ควรมีคนใดคนหนี่งรู้ก่อนหรือรู้ทีหลัง และคุณควรมีเวลาพูดคุยรายละเอียดเป็นคนๆไปเพื่อทำความเข้าใจในความรู้สึกของแต่ละคนด้วย

 

DON’T!: อย่า! บอกไม่หมด โกหก และสร้างคำสัญญาหลอกๆ

ข้อนี้ก็อาจจะขึ้นอยู่กับอายุและวุฒิภาวะของลูกคุณ ซึ่งคุณอาจจะอยากแชร์ข้อมูลทั่วไปของมะเร็งที่คุณตรวจพบว่าอยู่ส่วนไหนของร่างกาย ต้องทำการรักษายังไง และมันจะกระทบต่อชีวิตพวกเขาอย่างไร จากสิ่งเหล่านี้คุณควรจะให้ข้อมูลที่เป็นความจริงที่สามารถเข้าใจได้ในระดับวัยของเขา ซึ่งคุณอาจจะเลือกค่อยๆให้ข้อมูลที่ละเล็ก ทีละน้อยไปเรื่อยๆ แต่ต้องอย่าลืมว่าทุกอย่างที่บอกออกไปต้องเป็นความจริงและยังต้องสร้างความเชื่อใจ และความรู้สึกปลอดภัยให้ลูกๆของคุณอยู่ นอกจากนี้ควรจะแน่ใจว่าเค้าจะได้ถามทุกอย่างที่เขาอยากรู้ ถ้าเกิดคุณมีความรู้สึกไม่สบายใจที่จะตอบ อาจจะต้องขอคำแนะนำจากกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ผ่านการเป็นโรคมะเร็งเหมือนกันมาก่อน หรือทางโรงเรียนที่มีห้องให้คำปรึกษาต่างๆ อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ!

 

 

DON’T!: อย่า! คิดเองเออเอง

มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่ลูกจะมีความคิดว่าการเกิดมะเร็งนั้นมีต้นเหตุมากจากพวกเขา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความรู้สึกโทษตัวเองโดยไม่รู้ตัว เราต้องพูดคุยให้มั่นใจว่าพวกเขาจะไม่ใช่คนผิดที่จะถูกต่อว่าว่าเป็นสาเหตุ และสร้างความเข้าใจว่ามะเร็งคืออะไร เป็นโรคที่สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย มีหลากหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดได้ และมันไม่ใช่โรคที่ติดต่อได้ เรายังกอดหอมรักกันได้เหมือนเดิม เรารู้แค่ว่าอะไรที่จะเป็นความเสี่ยงมะเร็งได้บ้างแต่สาเหตูที่แท้จริงนั้นยังไม่สามารถบอกได้ ยังไงก็ตามหมอๆก็พยายามหาทางรักษาและสร้างความเข้าในในโรคมะเร็งมากขึ้นๆทุกวันอยู่แล้ว

 

DO!: เสริมสร้างความรู้สึกปลอดภัย

พยายามที่จะใช้ชีวิตประจำวันของเราให้เหมือนเดิม อาจจะขอให้คนในครอบครัวและเพื่อนๆมาช่วยกันสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นปลอดภัยให้ลูกๆของคุณไม่รู้สึกกังวล มันก็อาจจะเป็นทางที่ช่วยให้ลูกได้เป็นความเป็นจริงอย่างที่ควรจะเป็น เช่น ถ้าเราต้องลาหยุดอยู่บ้านเพราะรู้สึกป่วย ก็จะเป็นการสร้างความเข้าใจว่านี่คือสิ่งที่เราจะต้องเจอจากโรคนี้บ้าง คุณอาจจะบอกให้ลูกของคุณกอดคุณบ้าง (ถ้าไม่ได้มีอาการเจ็บปวดจากมะเร็ง) หรือไปช่วยดูแลงานบ้านกับพี่น้อง จะทำให้ลูกๆได้เสริมสร้างความเข้าใจและช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณในสถานการณ์แบบนี้ และอย่าลืมว่า ต้องบอกให้ลูกๆมั่นใจว่าจะมีคนดูแลพวกเขาแน่นอน อย่างคนในครอบครัว เช่น ป้า หรือตา ยาย

 

 

DON’T!: ไม่จำเป็น! ต้องรู้คำตอบทั้งหมด

คำถามหนึ่งที่พบได้ทั่วไปแต่ยากที่สุดของพ่อแม่ที่เป็นมะเร็ง โดยเฉพาะในระยะท้ายๆ ต้องพบเจอคือ “แม่ จะตายไหม” เราควรจะเตรียมคำตอบไว้ในใจ เป็นคำตอบที่ตามความจริงแต่ไม่ควรจะสิ้นหวังไปซะทั้งหมด คุณอาจจะบอกไปว่า “หมอบอกว่าการรักษาได้ผลดีตามที่ต้องการเลย” หรือ “การฉายแสงครั้งหน้าอาจจะดีขึ้นก็ได้นะ” เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับลูกๆของคุณ

 

 

PGH, หรือ Preferred Global Health, เป็นองค์กรผู้ป่วยระดับโลกที่เป็นอิสระ รวมถึงเป็นพาร์ทเนอร์และผู้ให้บริการที่มีคุณค่าของ Tune Protect สำหรับบริการ myEliteDoctor บริการความเห็นที่ 2 ทางการแพทย์ระดับโลก

 

myEliteDoctor รวมอยู่ในแผนประกันโรคร้ายแรง myFlexi CI ที่มีสิทธิ์ใช้บริการฟรี* ซึ่งให้ความคุ้มครองสูงสุด 3,000,000 บาท* สำหรับ 5 กลุ่มโรคร้ายแรงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

 

เพราะทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเอง

 

 

หมายเหตุ

*เงื่อนไขเป็นไปตามกรมธรรม์ ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง



บทความที่เกี่ยวข้อง

การเตรียมตัวรับมือ "โรคมะเร็ง" ค่ารักษามีอะไรบ้างที่เราต้องรู้

การเตรียมตัวรับมือ "โรคมะเร็ง" ค่ารักษามีอะไรบ้างที่เราต้องรู้

ค่ารักษาพยาบาลไม่ควรที่จะทำให้เราหรือครอบครัวของคุณรู้สึกล้มละลาย รวมถึงการเข้าถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและโรงพยาบาลก็ไม่ควรจำกัดอยู่กับฐานะของคุณเช่นกัน

ร่างกายจะเป็นอย่างไร? เมื่อคุณเริ่ม "เลิกบุหรี่"

ร่างกายจะเป็นอย่างไร? เมื่อคุณเริ่ม "เลิกบุหรี่"

การสูบบุหรี่นอกจากเป็นสาเหตุของมะเร็งปอด มะเร็งอีก 14 ชนิด และยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและระบบทางเดินหายใจอื่นๆที่นำพาไปสู่การเสียชีวิตก่อยวัยอันควร ถ้าเราเริ่มหยุดบุหรี่ตอนนี้ ไม่ต้องรอนาน เพียงแค่ 72 ชั่วโมงต่อมาเราจะรู้สึกถึงความเป็นแปลงที่ดีขึ้นได้เลย!

"สีเขียว" สีที่ดีที่สุดสำหรับหัวใจของคุณ

"สีเขียว" สีที่ดีที่สุดสำหรับหัวใจของคุณ

สีเขียว คือสีของการเติบโต ธรรมชาติ ความมีชีวิตชีวา และการเรื่มใหม่ เมื่อเรามองเห็นหรือคิดถึงสีเขียว เราจะนึกถึงการออกไปข้างนอก การหายใจ และการขับเคลื่อนของชีวิต นี่อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไม เราถึงต้องดูแลหัวใจของเรา ด้วยสีเขียว