Call Center 1183
เปิดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหัวใจ โรคฮิตค่าใช้จ่ายสูง

เปิดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหัวใจ โรคฮิตค่าใช้จ่ายสูง

จากการรายงานสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2563 พบว่า กลุ่ม "โรคหัวใจ" และหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก หรือประมาณ 17.9 ล้านคน และจากสถิติในประเทศไทย พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 6 หมื่นราย โดยอุบัติการณ์ล่าสุดพบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่สูงมาก ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป รวมถึงปัจจัยในด้านพันธุกรรม ซึ่งทำให้ผู้คนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งในการรักษาพยาบาลของโรคหัวใจในแต่ละครั้ง มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมาก ทางเลือกที่ดีคือควรทำประกันภัยโรคร้ายแรง ที่คุ้มครองโรคหัวใจ


สาเหตุ และ ปัจจัยทำให้เกิดโรคหัวใจ

สาเหตุของโรคหัวใจขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจนั้นๆ ซึ่งจะสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้


ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้และไม่สามารถเปลี่ยนแปลง

เป็นสิ่งที่อาจจะมีติดตัวตั้งแต่เกิด ได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากพ่อแม่ หรือประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว เช่น

  1. อายุ การมีอายุมากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงตีบและกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
  2. เพศ ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากกว่า แต่สำหรับผู้หญิงจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลังหมดประจำเดือน
  3. พันธุกรรม ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  4. โรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง อาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและหนาขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง, โรคเบาหวานก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ, โรคอ้วน น้ำหนักเกินมักทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ หรือระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ


ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้และสามารถปรับเปลี่ยนได้

ล้วนเกิดจากการกระทำและพฤติกรรมของตัวบุคคลทั้งสิ้น เช่น

  1. สูบบุหรี่ สารนิโคตินทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่นำไปสู่อาการหัวใจวาย
  2. การรับประทานอาหาร อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เกลือ น้ำตาล และคอเลสเตอรอลสูง สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจได้
  3. การไม่ออกกำลังกาย เพิ่มปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ
  4. ความเครียด ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กระตุ้นหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการของโรคหัวใจมากขึ้น

ประกันภัยโรคร้ายแรง, ประกันโรคร้ายแรง ที่ไหนดี


ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหัวใจ

ค่าทำบอลลูนหัวใจ

เป็นวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด เมื่อบอลลูนทำงานโดยการขยายออก จะเบียดคราบไขมันหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อช่วยให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ ค่ารักษาเริ่มต้นประมาณ 110,000 บาท


ค่าใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้กระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ ลดปัญหาการเต้นของหัวใจที่ช้ากว่าค่าปกติ ทั้งนี้การกระตุ้นไฟฟ้าในผู้ป่วยจะช่วยให้หัวใจเต้นเร็วพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายได้ ค่ารักษาเริ่มต้นประมาณ 18,000 – 436,000 บาท


ค่าผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

เป็นการผ่าตัดบริเวณกึ่งกลางหน้าอกหรือผ่าตัดด้วยเทคนิคส่องกล้อง เพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม และแก้ไขลิ้นหัวใจของผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ค่ารักษาเริ่มต้นประมาณ 130,000 บาท (ไปจนถึงหลักล้านบาท)


ค่าผ่าตัดบายพาสหัวใจ

ในการผ่าตัดบายพาสหัวใจ จะขึ้นอยู่ดุลยพินิจของกับแพทย์ โดยวิธีรักษาจะมี  3 รูปแบบได้แก่ การผ่าตัดบายพาสหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม การผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม และการผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบแผลเล็ก ค่ารักษาเริ่มต้นประมาณ 550,000 บาท


ค่าผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) โป่งพอง

แพทย์จะทำการวินิจฉัย ก่อนจะพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ขนาดหลอดเลือดแดงเอออร์ต้าใหญ่ที่โตเสี่ยงต่อการปริแตก หรือหลอดเลือดแดงใหญ่ที่โตเร็วผิดปกติหรือไม่ ค่ารักษาเริ่มต้นประมาณ 110,000 – 768,000 บาท


ประกันคุ้มครองโรคร้าย, ประกันภัยโรคร้ายแรง


ประกันภัยโรคร้ายแรง myFlexi CI จาก ทูน โพรเทค

เมื่อเป็นโรคหัวใจแล้ว แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาถือว่าค่อนข้างสูง เนื่องจากโรคหัวใจถือว่าเป็นหนี่งโรคในกลุ่มโรคร้ายแรง การมีประประกันภัยโรคร้ายแรง ถือว่าจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในด้านของการรักษา ซึ่งวันนี้ขอแนะนำ ประกันภัยโรคร้ายแรง myFlexi CI จาก ทูน โพรเทค ที่จะดูแลโรคร้ายในทุกระยะ และเลือกความคุ้มครองได้ตามใจ เลือกปรับเพิ่ม-ลด ความคุ้มครองได้ โดยคุ้มครอง 5 กลุ่มโรคร้ายแรง และคุ้มครองโรคร้ายทุกระยะ สูงสุดมากกว่า 3 ล้านบาท* มีค่าชดเชยรายวันและพยาบาลพิเศษ มีบริการความเห็นที่สองทางการแพทย์ และปรึกษาแพทย์ออนไลน์ คุ้มครองถึงอายุ 65 ปี สมัครได้เลย โดยไม่ต้องซื้อประกันชีวิต ตอบคำถามสุขภาพแค่ 3 ข้อ ไม่ต้องไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล ที่สำคัญเบี้ยประกันนำไปลดหย่อนภาษีได้*


ถ้ายังไม่แน่ใจว่า ประกันโรคร้ายแรง ต้องร้ายแรงแค่ไหนประกันถึงจะดูแล สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้


ซื้อประกันภัยบ้าน myHomeSmart


พอทราบถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหัวใจ ไม่มีใครอยากจะเสียเงินก้อนนี้เพื่อการรักษาเลย ซึ่งทุกท่านสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ แต่ทางที่ดีการมองหาประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองโรคหัวใจ ถือว่าเป็นแผนสำรองในการใช้ชีวิต เพราะยุคสมัยนี้ โรคภัยไข้เจ็บสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และจะช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลยามเข้ารับการรักษาตัว และไม่ทิ้งภาระให้คนรอบข้างอีกด้วย


*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขของเอกสารเสนอขายก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด สนใจสอบถามเพิ่มเติม: 1183 หรือ Line@: @tuneprotect


อ้างอิงข้อมูลจาก :

บทความน่าตกใจ สถิติชี้ชัด "โรคหัวใจ" คร่าชีวิตคนไทยเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน จาก คม ชัด ลึก

บทความโรคหัวใจ (Heart Disease) - โรงพยาบาลMedPark



Blog Relate

สัญญาณอันตราย อาจเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง

สัญญาณอันตราย อาจเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง

หากร่างกายส่งสัญญาณแจ้งเตือนเหล่านี้ คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง ควรรีบปรึกษาแพทย์และเตรียมวางแผนรับมือกับค่าใช้จ่ายด้วย ประกันโรคมะเร็ง เพื่อคลายกังวลจากโรคร้ายในอนาคต

ประกันมะเร็ง หรือ ประกันโรคร้ายแรง เลือกแบบไหนดี

ประกันมะเร็ง หรือ ประกันโรคร้ายแรง เลือกแบบไหนดี

ประกันมะเร็ง ประกันโรคร้ายแรง มีการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่ไม่เหมือนกัน หากคุณยังไม่รู้ว่าควรเลือกประกันแบบไหนดี Tune Protect มีข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจมาฝากกัน

โรคร้ายที่มากับการ Work ไร้ Balance

โรคร้ายที่มากับการ Work ไร้ Balance

การ work แบบไร้ balance ของชาวออฟฟิศ อาจส่งผลร้ายต่อร่างกายมากกว่าที่คิด วันนี้ Tune Protect Thailand จะพาไปทำความรู้จักกับ 5 โรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้หากเราไม่ดูแลตัวเอง